IP Camera คือ กล้องวงจรปิดที่รวมเอาคุณสมบัติของ Web Server ไว้ในตัวกล้อง ใช้สำหรับการบันทึกภาพเคลื่อนไหวสามารถดูภาพสดบนระบบ internet ได้ ผู้ใช้งานสามารถดูภาพจากระยะไกลเพื่อใช้ในการรักษาความปลอดภัย และ เฝ้าระวัง ภายในบ้าน สำนักงาน โรงงาน ห้างสรรพสินค้า และอื่นๆ ได้
ในยุคสมัยนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นมากและรวดเร็วขึ้นทุกวัน ซึ่งที่จริงมันก็เป็นผลดีต่อชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ดั้งนี้นแล้วเพื่อเพิ่มความปลอดภัย กล้องวงจรปิด IP Camera จึงเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ติดตั้งตามบ้านเรือน ตามบริษัทห้างร้าน หรือตามสำนักงานต่างๆ
คุณอาจจะสงสัยว่า ทำไมถึงนิยมติดตั้งกล้อง IP มากว่า กล้องวงจรปิด CCTV แบบธรมดาทั่วไป กล้องวงจรปิด IP Camera คืออะไร มีการใช้งานยังไง มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร แล้วทำไมจึงมีความจำเป็นขึ้นทุกวัน
ดังนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักเพิ่มเติมกันว่า ทำไมที่บ้านและที่ทำงานของทุกคนจึงควรติดตั้ง กล้องวงจรปิด IP
IP Camera คือ
IP Camera ย่อมาจาก Internet Protocol Camera หรือที่เราเรียกกันว่า กล้องไอพี เป็นประเภทหนึ่งของกล้องวงจรปิดที่รวมเอาคุณสมบัติของ Web Server ไว้ในตัวกล้อง เป็นการนำความสามารถของ กล้องวงจรปิด CCTV แบบดั้งเดิม และ ระบบอินเทอร์เน็ต หรือ Computer Network มารวมเข้าด้วยกัน โดยหลักการทำงานจะเหมือนกล้องวงจรปิดทั่วไป คือใช้สำหรับการบันทึกภาพเคลื่อนไหวแล้วเพิ่มศักยภาพในการใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตขึ้นมานั่นเอง
เพื่อให้สามารถ ดูภาพสดบนระบบ internet หรือ ระบบเครือข่ายได้ ผู้ใช้งานสามารถดูภาพจากกล้องวงจรปิดได้ในระยะไกลเพื่อใช้ในการรักษาความปลอดภัย และ เฝ้าระวัง ภายในบ้าน สำนักงาน โรงงาน ห้างสรรพสินค้า และอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ IP Camera ยังมีส่วนของ Storage เพื่อที่จะสามารถ Upgrade Firmware ได้อีกด้วย
กล้อง IP Camera มีกี่ชนิด
กล้อง IP สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด
กล้อง IP ชนิดรวมที่ศูนย์กลาง (Centralized)
กล้อง IP ชนิดนี้เป็นกล้องไอพีระบบเครือข่ายที่ต้องการเซิร์ฟเวอร์วิดีโอ NVR (Network Video Recorder) เป็นระบบส่วนกลางในการรับส่งข้อมูลรูปภาพ เพื่อส่งภาพมาบันทึกและจัดการการแจ้งเตือน (Alarm Management)
ซึ่งการบันทึกรูปภาพทั้งหมดของการเชื่อมต่อ กล้อง IP กับ NVR นั้นเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์ม ผ่าน Internet Protocol ที่เป็นระบบการส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ดิจิตอลที่รับข้อมูลทางปลายทาง การบันทึกของกล้อง IP ชนิดนี้จึงสามารถส่งข้อมูลได้ในระยะไกล ทำให้มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้แอปพลิเคชันจากระบบ IP camera อีกทั้งกล้อง IP ชนิดนี้ยังสามารถซ่อนอุปกรณ์เชื่อมต่อในการบันทึกจากการถูกระบุตำแหน่งนอกพื้นที่ผ่าน IP address ได้อีกด้วย
กล้อง IP Camera ชนิดแยกจากศูนย์กลาง (Decentralized)
กล้อง IP ชนิดนี้เป็นกล้องไอพีระบบเครือข่ายที่ไม่ต้องพึ่ง NVR (Network Video Recorder )เป็นระบบส่วนกลางแต่อย่างใด เพราะเป็นกล้องไอพีที่สามารถกระจายข้อมูลรูปภาพและวีดิโอได้อย่างชัดเจนด้วยตัวของมันเองอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ กล้อง IP ชนิดนี้ยังมีความสามารถในการบันทึกสื่อจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลหลายประเภท เช่น เครือข่ายเก็บข้อมูล (Network-attached storage – NAS), SAN(Storage Area Networks), การ์ดหน่วยความจำ (SD Card), ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (Hard Disk Drives) หรือแฟลชไดรฟ์ (Flash Drives) ที่ผู้คนนิยมใช้บ่อยในการเก็บข้อมูล และทำให้กล้อง IP camera กระจายศูนย์การใช้งานได้หลากหลายและมีค่าบำรุงรักษาที่ต่ำ เมื่อเทียบกล้องไอพี ชนิดรวมที่ศูนย์กลาง
กล้อง IP Camera แบบมีสาย และไร้สาย
กล้อง IP แบบมีสาย (Wiring)
กล้องไอพีแบบใช้สาย เป็นการเดินสายสัญญาณ(สาย LAN) โดยเชื่อมต่อระหว่างกล้องกับ NVR หรือเชื่อมต่อกล้องกับ Switch POE ไปบันทึกใน NVR นิยมใช้สายLANแบบ อีเทอร์เน็ต(Ethernet) ที่เป็นระบบเชื่อมต่อสัญญาณแบบเส้นเดียว ทำให้ระบบการส่งข้อมูลช้า เนื่องจากสายLanแบบอีเทอร์เน็ตเป็นสายLanที่ต้องรอการส่งข้อมูลรูปภาพและวีดีโอเป็นลำดับขั้นตอน ไม่สามารถส่งลัดได้ ดังนั้นความเร็วในการส่งข้อมูลจะช้ากว่ากล้อง IP cameraแบบไร้สายหลายเท่า
กล้อง IP แบบไร้สาย (Wireless)
กล้องไอพีแบบไร้สาย เป็นการเชื่อมต่อกล้องกับ Router หรือเชื่อมต่อกล้องกับ NVR ผ่าน Wi-Fi หรือ Wireless เป็นระบบ IP camera ที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งเครือข่ายตัวกลางในการส่งข้อมูล แต่จำเป็นต้องอยู่ในเครือข่ายเน็ตเวิร์ดที่มีการเชื่อต่อส่งสัญญาณที่เสถียร เพื่อให้การทำงานของกล้องชนิดนี้ให้มีประสิทธิภาพ และสามารถประมวลภาพ วีดีโอไปยังอุปกรณ์ดิจิตอลโดยตรงได้อย่างมีคุณภาพ
ประเภทกล้อง IP
กล้อง IP แบ่งตามประเภทการใช้งานได้ ดังนี้
- Fixed Camera กล้องวงจรปิดแบบกระบอก มีข้อเด่น คือ ตัวกล้องวงจรปิดสามารถแยกส่วนประกอบของเพื่อต่อเติมในการใช้ตัวอุปกรณ์เสริมได้อย่างอิสระ สามารถเลือกซื้อเลนส์ใส่สลับได้ ซึ่งเลนส์สำหรับใส่กับกล้องวงจรปิดชนิดนี้ มีเลนส์สำหรับการดูวัตถุระยะใกล้และไกลให้เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับจุดที่จะติดตั้งและต้องการโฟกัสภาพไปที่ไหน โดยเลนส์ของกล้องวงจรปิดชนิดนี้จะมีอยู่ 2 แบบ คือ
– Fix Lens เลนส์ฟิกส์ ของกล้อง IP camera ส่วนใหญ่จะมีขนาดเลนส์ให้สามารถติดตั้งใช้งานได้ โดยมีขนาดให้เลือกที่ 3.6 mm, 4mm, 6mm ตามลักษณะการใช้งาน
– Auto Iris เลนส์ปรับขนาดออโต้ ของกล้อง IP camera เลนส์ชนิดนี้นั้นจะมีราคาแพงกว่า fix lens ค่อนข้างมาก เพราะมีความสามารถที่จะปรับความลึกในการมองเห็นได้อย่างอิสระ และยังคงความละเอียดของภาพได้สูง เพื่อให้ภาพชัดสวยงามได้อยู่ตลอด กล่าวคือ เลนส์ชนิดนี้จะปรับแสงตามสถานการณ์ให้โดยอัตโนมัติ
2. Infrared Camera กล้องวงจรปิดแบบอินฟาเรด มีรูปร่างแบบทรงกลมและทรงกระบอก และส่วนประกอบของกล้องจะมีหลอดไฟ LED ขนาดเล็กติดระนาบข้างๆกับตัวเลนส์กล้องไอพี มีคุณสมบัติที่เด่นชัดที่สุด คือ เป็นกล้องวงจรปิดที่ สามารถจับภาพในที่มืดได้ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ตัวกล้องวงจรปิดแบบอินฟาเรดสามารถมองเห็นในที่มืด หรือที่มีแสงน้อยได้ จะมีอยู่ 2 อย่างที่เป็นตัวเปรียบเทียบว่าสามารถมองเห็นในที่มืดได้ในระดับไหน นั่นก็คือ ค่า Lux ของแสง และ LED คือ ยิ่งมีจำนวนค่าที่มากก็ยิ่งทำให้ระยะทางดูภาพไกลขึ้น กล้องวงจรปิดแบบอินฟาเรด เป็นกล้องวงจรปิดที่ใช้แสงจากหลอด IR ส่องกระทบวัตถุ จะทำงานเมื่อแสงน้อยในระดับหนึ่ง โดยจะมี sensor ที่ด้านหน้าของกล้องแล้วจะส่งสัญญาณให้หลอด IR ทำงาน เมื่อมีแสงน้อยภาพจะเปลี่ยนเป็นขาว-ดำ สามารถมองเห็นในที่มืดสนิทได้ เพราะจะใช้แสง IR ส่องไปที่วัตถุ แต่ไม่เหมาะกับการติดตั้งเพื่อ การตรวจสอบทะเบียนรถ ผลจากการสะท้อนภาพจะทำให้ภาพสว่างจ้าจนมองไม่เห็นเลขทะเบียน โดยระยะการมองเห็นของเลนส์กล้อง IP camera ตัวนี้สามารถมองเห็นภาพได้ระยะไกลถึง 10-30 เมตร
- Dome Camera กล้องวงจรปิดแบบโดม เป็นกล้องที่มีรูปทรงลักษณะที่เป็นแบบครึ่งวงกลม มีส่วนประกอบเป็นเลนส์กล้องที่สามารถซูมเข้าและออกในระยะความลึกของภาพได้ละเอียด และมีฟังก์ชันแบบบังคับหมุนตัวกล้องวงจรปิดได้ โดยจะถูกสั่งการโดยตัวคอมพิวเตอร์ที่เป็นตัวควบคุม IP Camera อีกที วัสดุที่ใช้ทำมีทั้งแบบพลาสติก หรืออลูมิเนียมผสมเหล็กหล่อขึ้นรูป ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จะไม่มีปัญหาเรื่องภาพสะท้อนหรือฝ้า เพราะการออกแบบนั้นจะตัดปัญหาโดยการแยกชุดเลนซ์กับชุด LED ออกจากกัน กล้องโดมเหมาะสำหรับการใช้ภายในสำนักงานเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงงานภายในอาคาร ซึ่งสามารถปรับมุมกล้องได้รอบทิศทาง ซึ่งกล้องโดมเหมาะที่จะติดบนเพดานที่เป็นฝ้าติดตั้งโดยไม่ต้องใช้ขายึด มีชุดฝาครอบเพื่อป้องกันฝุ่นละออง อีกทั้งกล้องชนิดมีระบบกันน้ำได้ดีสามารถติดตั้งใช้งานได้ทุกสภาพแวดล้อม
- Pan-Tilt และ Pan-Tilt-Zoom Camera กล้องวงจรปิดแบบสปีดโดม (Speed Dome Camera) หรือมีตัวย่อว่า P=PAN (หมุน ส่าย), T=TILT (ก้ม เงย), Z=ZOOM (ย่อ,ขยาย) มีรูปร่างแบบทรงกลมลูกเล็กโดยมีข้อดีกว่ากล้องแบบทั่วไป คือ สามารถหมุนได้ 360 องศา ก้มเงยได้มากกว่า 90 องศา ซูมภาพได้ด้วยเลนซ์ ซูมได้ระยะทางไกลมากสุด 400-500 เมตร สามารถเลือกใช้ได้ทั้ง แบบภายในและภายนอกอาคาร โดยปัจจุบันสามารถเลือกการควบคุมด้วยเครื่องบันทึกหรือจอยควบคุมก็ได้ แล้วแต่สถานการณ์ หรือการใช้งาน ทั้งยังสามารถกำหนดการตั้ง Preset ได้มากกว่า 100 จุด และสั่งหมุนหรือวิ่ง ไปตามจุดนั้นๆได้เองแบบอัตโนมัติ การติดตั้งเหมาะสำหรับห้อง อาทิเช่น สนาม แนวถนน แนวกำแพง ภายในโรงงาน โรงรถ ลานจอดรถ สี่แยก หรือหน่วยงานที่ต้องการมองในระยะทางไกลๆ ฯลฯ แต่กล้องชนิดนี้มีราคาที่ค่อนข้างสูงมากกว่ากล้องทั่วไป
การทำงานของกล้อง IP
กล้อง IP มีลักษณะการทำงานที่เหมือนกับเป็นคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งภายในตัวกล้อง นั่นคือจะมีเลข IP เพื่อใช้บอกว่าตัวกล้องอยู่ส่วนไหนในเน็ตเวิร์คนั้นๆ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ทั้งที่บ้าน และในสำนักงานต่างๆได้ โดยตัวของกล้องIP สามารถเสียบเชื่อมสาย LAN เพื่อต่ออินเทอร์เน็ต หรือต่อสัญญาณ WIFI เพื่อใช้งานได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อีก เพราะมี IP อยู่ในตัวเองอยู่แล้ว ข้อนี้เองที่ทำให้กล้องIP Cameraแตกต่างไปจากกล้อง Web Cam ที่จำเป็นต้องเชื่อมต่อผ่าน USB โดยการเชื่อมต่อของกล้องIP Camera นั้นสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
- การเชื่อมต่อแบบเดินสายสัญญาณ : ใช้สายเชื่อมต่อกับโมเด็มบรอดแบนด์หรือเราเตอร์ผ่านสายอีเธอร์เน็ต (CAT5, CAT6) เป็นวิธีที่เร็วและปลอดภัยที่สุดในการเชื่อมต่อขจัดโอกาสของการสกัดกั้นสัญญาณและการรบกวน
- การเชื่อมต่อแบบไร้สาย WiFi : การเชื่อมต่อแบบนี้จะส่งข้อมูลในอัตราที่ช้ากว่าเครือข่ายแบบใช้สายและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต ความปลอดภัยที่ลดลงนั้นแลกมาด้วยความง่ายในการติดตั้งและปรับแต่งเครือข่ายไร้สาย แต่สัญญาณจะถูกรบกวนได้งานกว่าการเดินสายสัญญาณ
- การเชื่อมต่อแบบเครือข่ายมือถือ : เป็นการเชื่อมต่อที่มีแนวโน้มที่จะช้าที่สุดในสามเครือข่าย แต่มีความปลอดภัยมากกว่าแบบ WiFi หากกล้องมีการติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณแบบเซลลูลาร์ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้สาย LAN อย่างไรก็ตามกล้องประเภทนี้มีราคาค่อนข้างสูงโดยเฉพาะเมื่อส่งสัญญาณวิดีโอคุณภาพสูง และอาจมีค่าบริการอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นมาด้วย
การบันทึกภาพของกล้องวงจรปิด IP
แบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกัน คือ
- สามารถบันทึกข้อมูลลง storage card หรือ flash drive ที่เป็นส่วนกักเก็บข้อมูลของตัวกล้อง IP camera
- ใช้โปรแกรมและแอฟพลิเคชั่น (Software) บันทึกลงเครื่อง Computer
- ใช้ NVR (Network Video Record) เป็นตัวกลางเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายในระบบกักเก็บข้อมูลในตัวกล้อง IP Camera บันทึกลง Hard disk ได้
เปรียบเทียบ IP Camera VS CCTV
กล้อง IP นั้นแตกต่างจากกล้องวงจรปิด CCTV (Closed Circuit Television) แบบอนาล็อก คือ สามารถส่งและรับข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตได้ โดยผู้ใช้งานสามารถดูภาพสดได้ จากทุกที่บนโลกผ่านระบบอินเตอร์เน็ตด้วยโปรแกรมที่มาพร้อมกับกล้องวงจรปิด IP Camera หรือดูภาพผ่าน ทางเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) สำหรับฟังก์ชั่นในการใช้งานของกล้องวงจรปิด IP Camera จะดีกว่ากล้องอนาล็อกทั่วไป กล่าวคือ สามารถสั่งงานควบคุมและบันทึกภาพได้ภายในตัว ซึ่งไม่เหมือนกับกล้องอนาล็อก ที่ต้องต่อเข้ากับเครื่อง บันทึกภาพ DVR (Digital Video Recorder) จึงจะทำงานได้ และกล้องวงจรปิด IP Camera นั้น ยังสามารถรับและส่งข้อมูลภาพและเสียงได้พร้อมกันแต่มีเฉพาะกับกล้อง IP Camera รุ่นใหม่
ข้อดีและข้อเสียของกล้อง IP Camera
10 ข้อดีของกล้อง IP
- Multiple Sensor เซ็นเซอร์หลายตัว : กล้อง IP Camera มี Multiple Sensor เปรียบเสมือนมีกล้องวงจรปิดแบบทั่วไปสามหรือสี่ตัวในกล้อง IP Camera ตัวเดียว ซึ่งสามารถแสดงภาพครอบคลุมพื้นที่ ที่ปกติอาจนำกล้องหลายตัวมาติด
- ค่าใช้จ่าย : กล้อง IP Camera สามารถเชื่อมต่อระบบผ่านเน็ตเวิร์ค ซึ่งสามารถออกแบบให้ใช้สายสัญญาณลดลงได้ เมื่อเที่ยบกับกล้อง Analog Camera แบบทั่วไปที่ต้องเดินสายสัญญาณ 1 เส้น ต่อ 1 กล้อง กล้องไอพี สามารถเดินสายด้วย PoE เพียงเส้นเดียวก็สามารถจ่ายไฟให้กล้องและส่งข้อมูลได้พร้อมกัน
- ความง่ายในการติดตั้ง : ในขณะที่กล้อง Analog Camera ใช้สายไฟ และสายสัญญาณรวมเป็นสองเส้นกล้อง กล้อง IP Camera ใช้เพียงสายสัญญาณเส้นเดียวสำหรับทั้งข้อมูลและกำลังไฟที่เชื่อมต่อกับสวิตช์เครือข่าย ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องเดินสายไฟไปที่กล้อง
- ความละเอียด : กล้อง IP Camera มีคุณภาพของภาพที่เหนือกว่ากล้อง Analog Camera เนื่องจากเป็นระบบ Digital ทำให้สามารถข้ามข้อจำกัดที่กล้อง Analog Camera ไม่สามารถทำได้ นั่นคือ ข้ามจาก 576 TVL ไปเป็น 1080p สามารถเลือกใช้กล้องที่มีความละเอียด และอัตราส่วนภาพที่แตกต่างกันตามความต้องการของการใช้งาน
- ความฉลาดและการวิเคราะห์ : กล้อง IP Camera นั้นโดยทั่วไปแล้วเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่บีบอัดและจัดเก็บวิดีโอ รวมถึงสามารถติดตั้งโปรแกรมเพื่อให้การวิเคราะห์ทุกประเภท สามารถตรวจจับการเคลื่อนไหว หรือควัน นับคน ติดตามสิ่งของ และตั้งการแจ้งเตือน ทั้งยังสามารถตรวจดูเหตุการณ์แบบเรียลไทม์ในคุณภาพของภาพที่ชัดเจน
- ความปลอดภัย : ภาพวิดีโอจากกล้อง IP Camera ได้รับการเข้ารหัส และรับรองความถูกต้องเพื่อการส่งผ่านที่ปลอดภัย ทำงานบนระบบ digital สามารถที่จะ backup ข้อมูลได้ตลอดเวลาบน server และ hacker ไม่สามารถ “ดัก”เอาข้อมูลระหว่างทางได้
- แพลตฟอร์มเปิด : สามารถเชื่อมต่อระบบกล้อง IP Camera กับแพลตฟอร์มไหนก็ได้ เนื่องจากเป็นระบบสากล ทำให้สามารถเพิ่มฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ง่ายยิ่งขึ้น
- ระบบเครือข่าย : กล้อง IP Camera สามารถใช้ร่วมกับระบบ LAN เดิมที่มีอยู่แล้วได้โดยไม่ต้องเดินสายใหม่ ในกล้อง IP Camera บางรุ่นสามารถส่งสายไฟไปพร้อมกับสาย LAN ได้ โดยไม่ต้องเดินสายไฟแยกต่างหาก และมีระบบ Wirless สนับสนุนการทำงานผ่านระบบเครื่อข่ายไร้สายมากกว่ากล้อง Analog Camera
- จำนวนกล้อง : หากต้องการเพิ่มกล้องสามารถทำได้ง่ายโดยไม่ติดข้อจำกัดของ Channel ที่จำกัดของ DVR อีกต่อไป
- ประสิทธิภาพสูง : เนื่องจากกล้อง IP แต่ละตัวทำงานแยกอิสระ ไม่ได้ส่งภาพไปประมวลผลที่ตัวกล้อง ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพ “เต็มที่” ไม่อั้นที่ DVR อีกต่อไป แต่ละตัวมี IP ของตัวเอง ทำให้การตั้งค่ากล้องแต่ละตัวทำได้ง่าย
5 ข้อเสียของกล้อง IP
- ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง : มีค่าใช้จ่ายมากกว่าในติดตั้งกล้อง IP Camera หากต้องการเปลี่ยนจากกล้อง Analog Camera อย่างไรก็ตามเมื่อติดตั้งแล้วสามารถปรับแต่ง และปรับขนาดระบบได้ง่ายขึ้นตามความต้องการ
- ที่เก็บข้อมูล : กล้อง IP Camera มีความละเอียดสูงกว่าดังนั้นจึงสร้างไฟล์ที่มีขนาดใหญ่กว่ากล้อง Analog Camera จะต้องปรับพื้นที่เก็บข้อมูลให้เหมาะสม
- การส่งผ่านข้อมูล : เนื่องจากใช้ Bandwidth สูงมาก ตั้งแต่ 500 kbps ถึง 1.5 Mbps ทำให้ระบบทำงานหนักยิ่งขึ้น
- ต้นทุน : ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นกว่ากล้อง Analog Camera ไม่ว่าจะเป็นค่าอุปกรณ์, การดูแลรักษา รวมไปถึง ความรู้ของผู้ที่บริหารจัดการข้อมูล
- ใช้ข้ามยี่ห้อไม่ได้ : เนื่องจากกล้องถูกพัฒนาจากผู้ผลิตหลายรายทำให้มีมากกว่า 1 มาตรฐาน จึงไม่สามารถใช้กล้องที่มี Protocal ต่างกันคุยกันได้ จึงไม่สามารถใช้กล้องข้ามยี่ห้อได้นั่นเอง
กล้องไอพี เป็นเทคโนโลยีกล้องวงจรปิดที่มีจุดเด่นคือการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตในตัวเอง สามารถต่อได้ทั้งแบบมีสายและไร้สาย นิยมนำมาใช้ในด้านการรักษาความปลอดภัยแบบ Real-time สามารถกลับไปดูย้อนหลังได้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเรามักจะพบว่ามีรายงานข่าวหลายครั้งเกี่ยวกับบ้าน หรือสำนักงานที่ติดตั้งกล้องไอพี แล้วสามารถช่วยในการสืบสวนคดีอาชญากรรมหรือปล้นชิงต่างๆ ทำให้ทราบตัวผู้ร้ายและสามารถนำไปสู่การจับกุม หรือใช้เป็นหลักฐานสำหรับประกอบการพิจารณาคดีได้ด้วย ดังนั้นแล้วเพื่อความปลอดภัย เราควรเปลี่ยนจากกล้องวงจรปิดแบบทั่วไปมาติดตั้งกล้อง IP Camera กัน
และถ้าหากคุณกำลังมองหากล้อง IP คุณภาพสูง และมีให้เลือกหลายหลายชนิด ตามความเหมะสมที่คุณต้องการ สามารถติดต่อสอบถาม หรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
บริษัท ซัคเซส เน็ตเวิรค แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
โทร : 02-973-1966
Admin : 063-239-3569
Email : info@success-network.co.th