Smart City Solution
Smart City (เมืองอัจฉริยะ) คือ เมืองน่าอยู่ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง โดยเน้นการออกแบบที่ดีให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง และเพื่อให้ประชาชนมีชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวกลางในการแก้ปัญหา เพื่อให้ปัญหาน้อยลงถึงไม่มีเลย เช่น การนำระบบ Lighting มาใช้ควบคุมการ ปิด-เปิดไฟทางจราจร รวมทั้งเมื่อเกิดเหตุไฟเสีย Sensor จะมีการแจ้งเตือนเข้ามายังระบบ ซึ่งสามารถทราบตำแหน่ง จุดที่เสีย , ลดต้นทุนในการจ้างคน , ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการตระเวนเพื่อสำรวจไฟทาง
Smart City (เมืองอัจฉริยะ) สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพิ่มความปลอดภัยให้กับคนในชุมชม และเพิ่มความเชื่อมั่นแก่องค์กรและภาครัฐ หรือการนำระบบการข้ามถนนมาใช้ ระบบจะตรวจสอบการจราจรบนถนนโดยกล้องและคาดคะเนระยะเวลาที่ควรปล่อยรถ หรือกักรถ รวมทั้งแปลงเป็นสัญญาณเพื่อเตือนคนที่ต้องการจะข้ามถนน ซึ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ทาง หรือแม้แต่การนำเทคโยโลยีมาประยุกต์กับอาคาร เช่น ลานจอดรถ ระบบจะแสดงจำนวนพื้นที่ตำแหน่งที่สามารถจอดได้ โดยไม่ต้องวนรถให้เสียเวลา หรือการเปิด ปิดประตูอัตโนมัติเฉพาะผู้ที่ทำงานหรืออาศัยในตึก โดยใช้กล้องตรวจจับใบหน้า ในกรณีที่มีผู้อื่นที่ไม่ใช่ ระบบจะแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแล หรือสถานีตำรวจ เป็นต้น
Smart City เมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน
- Smart Environment : สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหลัก โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเฝ้าระวังภัยพิบัติ การดูแลสภาพอากาศ จัดการของเสีย และการจัดการน้ำ รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- Smart Economy : หรือเศรษฐกิจอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจและบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพบเห็นได้ในหลาย ๆ ด้าน เช่น เมืองท่องเที่ยวอัจฉริยะ หรือเมืองเกษตรอัจฉริยะ
- Smart Energy : พลังงานอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่มีการบริหารจัดการด้านพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความสมดุล ระหว่างการผลิตและการใช้พลังงานในพื้นที่เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานและลดการพึ่งพาพลังงานจากระบบโครงข่ายไฟฟ้าหลัก
- Smart Governance : การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่มีการพัฒนาระบบบริการภาครัฐหรือบริหารนโยบายสาธารณะ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐอย่างมีคุณภาพ โดยมุ่งเน้น ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เช่น นวัตกรรมบริการที่ทันสมัย
- Smart Living : การดำรงชีวิตอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกโดยคำนึงถึงหลักอารยสถาปัตย์ ให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย และมีความสุขในการดำรงชีวิต
- Smart Mobility : การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ หมายถึง การบริหารที่มุ่งเน้นพัฒนาระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะเพิ่มประสิทธิภาพและความเชื่อมโยงของระบบขนส่งและการสัญจรที่หลากหลาย เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- Smart People : พลเมืองอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจตลอดจนเปิดกว้างสำหรับความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการมีส่วนร่วมของประชาชน
ประโยชน์ของ Smart City
- เข้าถึงข้อมูล ข่าวสารสามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้ในทุกระดับ ทำให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
- ช่วยให้การจราจรคล่องตัวขึ้น ระบบจะช่วยให้การสัญจรสะดวกรวดเร็วขึ้น ลดการทำงานของเจ้าหน้าที่
- ประหยัดน้ำและพลังงาน เพราะมีการบริหารจัดการพลังงานทั้งภาคการผลิต การส่งจ่ายพลังงาน โดยส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน
- สร้างความปลอดภัย ประชาชนเข้าถึงแหล่งอุปโภค สาธารณูปโภค การบริการเข้าถึงทุกพื้นที่
- ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนทั้งเด็กและสังคมผู้สูงอายุ เช่นการตรวจสุขภาพ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผ่านทางระบบของ smart city
- ลดค่าใช้จ่าย ในส่วนภาครัฐการบริการจัดการทรัพทยากรบุคคล และเอกสารต่างๆ
ซิลิคอน วัลเลย์ เป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีโลก มีบริษัทด้านไอทีและนวัตกรรมชั้นนำของโลกนับร้อยราย เช่น Twitter, Apple, Facebook, Google, Netflix, PayPal เป็นต้น และยังมีสถาบันการศึกษาชั้นนำอย่าง Stanford University ที่คอยสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาลงทุนเปิดบริษัทและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
Smart City Vienna, ประเทศออสเตรีย
กรุงเวียนนา หนึ่งในเมืองที่น่าอยู่ที่สุดของโลก พร้อมไปด้วยการเดินทาง สภาพเศรษฐกิจ สังคม และการบริหารงานต่าง ๆ ที่มาจากแผนงานแม่บท “Smart City Wien” สู่การพัฒนาเมืองของสหภาพยุโรปที่ใหญ่ที่สุด โดยมีแนวคิด Transit-Oriented Development ออกแบบพื้นที่การใช้สอยสันทนาการและสาธารณะอย่างละครึ่ง และระบบคมนาคมแบบ Mixed use Quarters ตลอดจนเป็นที่อยู่อาศัย สำนักงาน การให้บริการ ธุรกิจ และการวิจัยอย่างครบวงจร
Smart City Vienna, ประเทศออสเตรีย
เมืองที่มุ่งเน้นการสร้างเมืองให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีโครงการ “Future Built” การพัฒนาพื้นที่เขตเมืองให้เป็น “Carbon Neutral” ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งพลังงานและการใช้วัสดุก่อสร้างเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ และร่วมกันหาทางออกด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบตัวเมือง Climate-Friendly และ Architecture Festivals ที่ใหญ่ที่สุดในเขตประเทศสแกนดิเนเวีย เพื่อควบคุมปัญหาการขยายตัวของเมืองออสโล