AI Face Recognition หรือ “เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า” คือ ระบบที่ทำการจดจำใบหน้าเพื่อแยกแยะและยืนยันตัวตนของบุคคล ด้วยการใช้ AI (Artificial Intelligence) ในการวิเคราะห์ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์บนใบหน้าของแต่ละคน เช่น ดวงตา จมูก คิ้ว ปาก และโครงหน้า แล้วนำมาเทียบกับฐานข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อยืนยันว่าใบหน้าที่ตรวจจับได้ถูกต้องและตรงกับบุคคลนั้นๆ จริง
การหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาสแกนใบหน้า เพื่อล็อกอินเข้าใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ บนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน อาจเป็นเรื่องปกติสำหรับชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคน แต่รู้หรือไม่ว่าจุดกำเนิดของเทคโนโลยีนี้ได้เริ่มต้นมากว่า 60 ปีแล้ว และกำลังจะกลายเป็นสิ่งที่ผสมผสานกลมกลืนกับชีวิตของเรามากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เราเข้าทำงาน ตอนที่เราเลิกงาน เข้าจอดรถในลานจอดที่โรงเรียนลูก ตอนเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ หรือตอนที่แวะซื้อน้ำยาปรับผ้านุ่มที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้บ้าน
เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Face Recognition) คืออะไร?
เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า หรือ เทคโนโลยีการรู้จําใบหน้า (Face Recognition) คือเทคโนโลยีเพื่อการระบุและพิสูจน์ตัวตนของบุคคล (Identification) โดยการนำรูปใบหน้าของมนุษย์จากภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว มาวิเคราะห์จำแนกแยกแยะองค์ประกอบและลักษณะเฉพาะต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลเชิงอัตลักษณ์ของใบหน้านั้น กับฐานข้อมูลใบหน้าที่มีการจัดเก็บไว้
Face Recognition หรือ “เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า” คือ ระบบที่ทำการจดจำใบหน้าเพื่อแยกแยะและยืนยันตัวตนของบุคคล ด้วยการใช้ AI (Artificial Intelligence) ในการวิเคราะห์ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์บนใบหน้าของแต่ละคน เช่น ดวงตา จมูก คิ้ว ปาก และโครงหน้า แล้วนำมาเทียบกับฐานข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อยืนยันว่าใบหน้าที่ตรวจจับได้ถูกต้องและตรงกับบุคคลนั้นๆ จริง การปลดล็อกสมาร์ตโฟน การเข้ารหัสในแอปฯ หรือการยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ ด้วยการสแกนใบหน้า เพราะ Face Recognition
อันที่จริง เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีการบุกเบิกมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960s และถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาหลายสิบปีแล้ว และด้วยการผสานเข้ากับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) นับตั้งแต่หลังปี 2000 เป็นต้นมา โดยการใช้ Algorithm เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่บนใบหน้า ทำให้การพิสูจน์หาอัตลักษณ์ของบุคคลมีความรวดเร็วและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะมีการแต่งหน้าหรือการสวมใส่อุปกรณ์เสริมต่างๆ ระบบก็ยังสามารถระบุตัวตนได้อย่างแม่นยำ ต่างจากเทคโนโลยีเดิมที่อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ ทุกวันนี้ AI Face Recognition สามารถตรวจจับใบหน้า (detect) และระบุตัวตน (identify) ได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ทั้งในลักษณะแบบ Real-time และแบบไฟล์วีดีโอ
ระบบการจดจำใบหน้า (Face Recognition System) ถือว่าเป็นสาขาหนึ่งของเทคโนโลยีชีวมิติ (Biometrics) ที่มีความแม่นยำสูง ปัจจุบันนิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย ทั้งในเชิงความปลอดภัยมั่นคงและเชิงพาณิชย์
เทคโนโลยี Face Recognition ทำงานอย่างไร?
การทํางานของระบบจดจําใบหน้า (Face Recognition System) มีอยู่หลายแนววิธี (Approach) ด้วยกัน และในแต่ละแนววิธีก็จะมี Methods หรือ Algorithm ในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับผู้พัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา Machine Learning, Deep Learning ซึ่งทำให้ Facial Recognition AI ฉลาดและแม่นยำมากขึ้น หรือการนำซอฟต์แวร์อื่นๆ เข้ามาช่วย
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างแนววิธีเชิงลักษณะ (Feature-based Approach) ซึ่งเป็นแนววิธีที่ได้รับความนิยมสูง โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
- การตรวจจับใบหน้า (Face Detection)
ขั้นแรก คือการสแกนภาพที่ได้จากกล้องถ่ายรูปหรือกล้องวิดีโอ แล้วทำการค้นหาส่วนที่เป็นใบหน้าของมนุษย์ ทำให้ทราบได้ว่ามีใบหน้าของมนุษย์ปรากฏในภาพหรือไม่ จำนวนกี่ใบหน้า จากนั้นจึงทำการ Frame หรือจับกรอบใบหน้าที่พบ เพื่อนำไปประมวลผลในขั้นตอนถัดไปขั้นตอนนี้เป็นเพียงการค้นหาใบหน้ามนุษย์เท่านั้น ยังไม่ใช่การระบุตัวตนว่าบุคคลนั้นเป็นใคร ซึ่งปัจจุบันมี Algorithm อยู่หลายวิธีสำหรับให้ software ใช้ในการแยกแยะใบหน้าของมนุษย์ ออกจากสิ่งอื่นๆ ในรูปภาพ เช่น สัตว์, วัตถุสิ่งของ พื้นหลัง และส่วนอื่นๆ ของร่างกายมนุษย์ ซึ่งแต่ละอัลกอริทึมก็จะมีประสิทธิภาพ ความรวดเร็ว และความแม่นยำที่แตกต่างกัน - การปรับรูปใบหน้าให้ตรงบรรทัดฐาน (Face Alignment / Normalization)
ขั้นตอนต่อมา คือการจัดหรือปรับ (Align) องศาของศีรษะและใบหน้า (Head Pose) รวมทั้งแสงเงา เพราะในความเป็นจริงใบหน้าที่ตรวจจับได้อาจจะไม่ได้ตั้งตรงหรือมองตรงมาที่กล้องเสมอไป เช่น อาจจะเอียงคอ หันหน้าเบี่ยงซ้ายขวา หรือก้มเงยศีรษะเล็กน้อย ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดเงาด้วย ดังนั้นจึงต้องจัดรูปใบหน้าให้อยู่ในรูปแบบ Normal คือหน้ามองตรงและศีรษะตั้งตรง ก่อนที่จะดำเนินการขั้นตอนต่อไปวิธีหนึ่งที่เป็นที่นิยมในการทำ Face Alignment ก็คือการหา Keypoint บนหน้า เช่น ตาซ้ายตาขวา จมูก ปาก แล้ว Crop ภาพให้จมูกอยู่ตรงกลาง จากนั้นก็ทำการ Transformation ต่างๆ เช่น การ Rotate ให้ตาซ้ายและขวาอยู่ในระดับและระนาบเดียวกัน เพื่อให้องศาของศีรษะตั้งตรง เป็นต้นแม้จะฟังดูเหมือนง่าย แต่การเขียนชุดคำสั่งซอฟต์แวร์ให้สามารถทำแบบนี้ได้ ต้องสร้างโปรแกรมและใช้สมการทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนเลยทีเดียว - การสกัดลักษณะเด่น (Feature Extraction)
จากนั้นนำภาพที่ผ่านการ Align หรือ Normalize แล้ว มาทำการสกัดลักษณะเด่นของใบหน้า (Face Feature) ซึ่งก็คือการวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ แล้วแปลงเค้าโครงรูปพรรณสัณฐานของใบหน้านั้นให้เป็นข้อมูลนั่นเอง ข้อมูลที่ได้นี้จะเรียกว่า “โมเดลใบหน้า” หรือ “Faceprint”การร่าง “Faceprint” เองก็มี Algorithm ในการทำอยู่หลายรูปแบบ โดยรูปแบบพื้นฐานสำหรับ Feature-based Approach จะทำโดยการมาร์จุดลงบนส่วนเด่นของใบหน้า (Facial Landmark) เช่น หน้าผาก คิ้ว ตา จมูก ปาก คาง ฯ และจุดที่ได้นี้จะเรียกว่า Nodal Pointซึ่งโดยส่วนใหญ่เราจะสามารถมาร์คจุดบนใบหน้าของมนุษย์ได้ทั้งหมดประมาณ 80 Nodal Points เช่น มุมปากสองข้าง, หัวคิ้วและหางคิ้ว, หัวตาและหางตา, ขอบจมูกซ้ายขวา เป็นต้นจากนั้นทำการเชื่อมโยงจุดต่างๆ แล้ววัดระยะ (measure) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง Nodal Points ต่างๆ ทำให้ได้เอกลักษณ์เฉพาะของใบหน้านั้นๆ เช่น ระยะห่างระหว่างคิ้ว, ระยะห่างระหว่างดวงตา, ความกว้างของจมูกหรือปาก, ระยะห่างระหว่างจมูกและปาก, สัณฐานของคาง และระยะระหว่างจุดเชื่อมโยงอื่นๆ บนใบหน้า ฯลฯข้อมูล (Data) เชิงคณิตศาสตร์ที่ได้นี้ ก็คือ Faceprint นั่นเอง - การป้องกันปลอมแปลง (Anti-spoofing)
เป็นขั้นตอนเสริมในการป้องกันการปลอมแปลง เช่น ตรวจสอบว่าภาพนําเข้า (Input) มีการปลอมแปลงภาพหรือไม่ เป็นต้น - การจับคู่ลักษณะเด่น (Feature Matching / Classification)
นำข้อมูล Faceprint ที่ได้ มาทำการประมวลผลและเปรียบเทียบกับฐานข้อมูล (Database) เพื่อให้ทราบว่าตรงกับข้อมูล Faceprint ของผู้ใดที่มีการลงทะเบียนบันทึกไว้ก่อนหน้าแล้ว
ตัวอย่างการนำ AI Face Recognition ไปใช้ประโยชน์
เทคโนโลยี AI Facial Recognition มีการนำมาประยุกต์ใช้ในหลากหลายมิติ
- ธุรกิจการเงินและธนาคาร
ปัจจุบัน หลายธนาคารใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า ในการยืนยันตัวตนก่อนทำธุรกรรมออนไลน์ เช่น ให้บริการเปิดบัญชีออนไลน์ โดยที่ลูกค้าไม่ต้องเดินทางไปที่สาขา ช่วยประหยัดเวลา และสร้างความประทับใจให้ลูกค้าในการใช้บริการ - สถานศึกษา
ระบบยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าการจดจำใบหน้า ยังถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูล (Data Record) ของนักเรียนหรือนักศึกษาในชั้นเรียนได้อีกด้วย หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Face Recognition-Based Mobile Automatic Classroom Attendance Management ซึ่งเป็นระบบการจัดการการยืนยันตัวตนของผู้เข้าชั้นเรียนแบบอัตโนมัติผ่านโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ตโฟน - ภาครัฐ
ใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า ในการยืนยันตัวตนการใช้รับสวัสดิการต่างๆ ด้วยการเปรียบเทียบใบหน้าของบุคคลกับรูปภาพใบหน้าในฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น บัตรประชาชน หนังสือเดินทาง เป็นต้น - ระบบขนส่งมวลชน
มีสนามบินและสายการบินหลายแห่งเริ่มใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า ในการอำนวยความสะดวกเพื่อลดขั้นตอนความยุ่งยากและย่นระยะเวลาของการยืนยันตัวตน ทำให้ผู้โดยสารผ่านด่านรักษาความปลอดภัยและถึง Gate ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น - การต่อต้านการก่อการร้าย และรักษาความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ
ระบบการจดจำใบหน้า สามารถช่วยระบุตัวตนของผู้ก่อการร้าย หรือผู้ทำผิดกฎหมายอื่นๆ เพียงใช้แค่การสแกนใบหน้าเท่านั้น - ธุรกิจค้าปลีก
ร้านสะดวกซื้อ (Convenient Store)
บางแห่งที่มีระบบสมาชิกและระบบ e-Wallet อาจเพิ่มความสะดวก และลดขั้นตอนในการชำระเงิน โดยการสแกนใบหน้าลูกค้าที่เป็นสมาชิก แล้วให้ระบบตัดเงินออกจาก e-Wallet ของลูกค้าคนนั้นแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องอาศัยพนักงานแคชเชียร์ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและยังสามารถเก็บประวัติการซื้อเข้าเป็น Big Data ได้อีกด้วย
ห้างสรรพสินค้า
อาจใช้ประโยชน์จาก AI Face Recognition ในการเก็บสถิติจำนวนผู้มาใช้บริการ ว่าในแต่ละวันผู้ที่เดินในห้างสรรพสินค้ามีจำนวนเท่าไหร่ เข้าร้านไหนบ้าง รวมถึงสามารถระบุถึงลักษณะพื้นฐานต่างๆ ได้ เช่น เพศ, วัย เป็นต้น ทำให้สามารถปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้า ยังสามารถใช้การจดจำใบหน้า มาช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับร้านค้าและลูกค้าที่มาใช้บริการได้ เช่น ใช้ตรวจจับขโมย เป็นต้น - ธุรกิจอื่นๆ
ใช้ในระบบ Time Attendance
ใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า ในการบันทึกเวลาเข้า-ออกงาน (Time Attendance) ของพนักงาน โดยที่การสแกนใบหน้าสามารถช่วยลดการสัมผัสในยุค New Normal ได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับระบบสแกนลายนิ้วมือ และยังมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการสแกนบัตรที่อาจมีการนำมาเสียบหรือทาบสแกนแทนกันได้
ใช้ในระบบ Access Control
เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการเข้าออกพื้นที่ หรือจำกัดสิทธิ์การเข้าใช้งานระบบข้อมูลหรือทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยใช้การปลอดล็อคด้วยใบหน้า ซึ่งใบหน้าของแต่ละบุคคลจะมีลักษณะเฉพาะที่ไม่สามารถปลอมแปลงกันได้
นอกจากนั้น ในปัจจุบันยังมีความสามารถในการตรวจสอบความเคลื่อนไหวของใบหน้า (Liveness Detection) เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นใบหน้าจริงของบุคคลจริง ไม่ใช่ภาพถ่าย
และอุปกรณ์กล้อง AI Camera บางรุ่นยังมีความสามารถในการทำงานภายใต้สถานการณ์ Covid-19 ได้ด้วย เช่น สามารถวัดอุณหภูมิของร่างกายได้ (Body Temperature Measurement), สามารถตรวจจับได้ว่าใบหน้านั้นสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือไม่ (Face Mask Detection) รวมทั้งยังสามารถยืนยันอัตลักษณ์ของบุคคลได้แม้ว่าจะสวมหน้ากากอนามัยอยู่ เป็นต้น
ซึ่งหากมีบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูล ผู้บุกรุก หรือคนร้ายเข้ามาในพื้นที่ที่ใช้ระบบดังกล่าว จะมีการแจ้งเตือนทันที และเป็นการตอบโจทย์ด้านความปลอดภัยในความมั่นคงอย่างยิ่ง
ประโยชน์ที่ AI Face Recognition มีต่อธุรกิจ
- เพิ่มความปลอดภัย
เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า ช่วยให้การตรวจสอบ และติดตามตัวเรื่องขโมย การลักทรัพย์ รวมทั้งผู้บุกรุกต่างๆ สามารถทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น - เพิ่มความรวดเร็ว
กระบวนการในการจำแนกใบหน้านั้นใช้เวลาแค่หลักวินาที หรือน้อยกว่านั้น สามารถรองรับระบบการทำงานในสเกลใหญ่ อย่างเช่นโรงพยาบาล โรงเรียน หรืออาคารสำนักงานขนาดใหญ่ได้ - เชื่อมต่อกับระบบอื่นได้ง่าย
เนื่องจากเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า นั้นสามารถเชื่อมต่อกับซอฟต์แวร์ระบบรักษาความปลอดภัยต่างๆ ได้ง่าย จึงถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับองค์กรต่างๆ และยังไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติมในการเชื่อมต่อระบบ - เพิ่มความแม่นยำและข้อผิดพลาดของมนุษย์
เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า มีความรวดเร็วและแม่นยำสูงในกระบวนการการยืนยันตัวตน ช่วยลดความผิดพลาด ไม่ว่าจะเกิดจากการตั้งใจทุจริตหรือความผิดพลาดจาก Human Error
Success Network and Communication
Tel : 02-973-1966
Admin : 063-239-3569
E-mail : info@success-network.co.th