Interactive White Board หรือ กระดานอัจฉริยะ คือ จอที่มีความสามารถรองรับการสื่อสารจากภายนอกได้ สัมผัสได้โดยตรง ระบบ Touch Screen ขีดเขียนได้
ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and communication Technology : ICT) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และ การศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษา การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน ทั้งในด้านของการสื่อสาร และอุปกรณ์สำหรับการเรียนรู้ ที่จะทำให้การศึกษามีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น และไปช่วยพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต การพัฒนาการศึกษาเหล่านี้ส่งผลกระทบให้เกิดการปรับเปลี่ยนห้องเรียนแบบเดิม ไปสู่ห้องเรียนที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ที่เรียกว่า ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ซึ่งในห้องเรียนจะมีการผสมผสานอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกัน
หนึ่งในอุปกรณ์และเทคโนโลยีในด้านการเรียนการสอนนั้นก็คือ Projector การใช้งาน Projector ที่เป็นที่แพร่หลายมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในห้องประชุม การใช้งานในห้องเรียน หรือใช้งานต่างๆอีกมากมาย แต่ด้วยข้อจำกัดของการใช้งาน Projector ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแสง เรื่องขนาดของห้อง รวมถึงคนส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่คุ้นเคยกับการ ใช้นิ้วมือ ขีดเขียน ควบคุม มากยิ่งขึ้น จึงมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนการใช้งาน Projector มาใช้งานผ่านจอสัมผัสอัจฉริยะ หรือก็คือ กระดานอัจฉริยะ (Interactive White Board) นั้นเอง
ดังนั้นเรามาทำความรู้จักเพิ่มเติมกันดีกว่าว่า Interactive White Board คืออะไร ทำไมถึงเป็นเทคโนโลยีอัจฉริยะสำหรับการเรียนการสอนในโลกยุคปัจจุบัน
Interactive White Board คืออะไร?
Interactive White Board หรือ กระดานอัจฉริยะ คือ จอที่มีความสามารถรองรับการสื่อสารจากภายนอกได้ เปรียบเสมือนกับจอรับภาพขนาดใหญ่ที่สามารถสัมผัสได้โดยตรงที่ตัวกระดาน การทำงานจะคล้าย ๆ กับ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ หรือที่เรียกกันว่า จอระบบสัมผัส Touch Screen ซึ่งการที่จอสามารถรองรับการสัมผัส การขีดเขียนได้นั้น ทำให้หลายๆ ที่นิยามมันว่า “กระดานอัจฉริยะ” นั้นเอง
โดยกระดานอัจฉริยะนั้นอาจใช้คำเรียกที่แตกต่างกันในอีกหลายๆ ชื่อ อาทิ เช่น Interactive Display, Interactive TouchScreen, Smart Board, Digital Whiteboard, Electrotic Whiteboard, จอสัมผัสอัจฉริยะ, กระดานอัจฉริยะ เป็นต้น
ความอัจฉริยะของจอกระดานอัจฉริยะ
ความอัจฉริยะของจอกระดานอัจฉริยะ นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวจอ หรือ Hardware ที่สามารถทัชสกรีนได้ แต่ขึ้นอยู่กับ Software ที่ใส่เข้าไปในจอเพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้งาน หรือใช้แก้ไขปัญหาการทำงานต่างหากที่เป็นความอัจฉริยะของจอกระดานอัจฉริยะ
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ร่วมกับกระดานอัจฉริยะและการติดตั้ง มีอะไรบ้าง
อุปกรณ์ที่ต้องใช้งานร่วมกับกระดานอัจฉริยะ
- กระดานอัจฉริยะ (Interactive White Board)
- โปรเจคเตอร์ (Projector)
- คอมพิวเตอร์ (Computer)
- โปรแกรมกระดานอัจฉริยะ (Software)
อุปกรณ์ข้างต้น จะต้องใช้งานร่วมกันเสมอ จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งใดไป มิได้โดยเด็ดขาด ไม่งั้นการทำงานก็จะไม่สมบูรณ์
การติดตั้งกระดานอัจฉริยะ
ก่อนการใช้ งานกระดานอัจฉริยะ ก็จะต้องทำการเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันดังนี้
- ทำการเชื่อมต่อสาย USB จากตัวกระดานอัจฉริยะ ไป ที่เครื่องคอมพิวเตอร์
- ทำการเชื่อมต่อสายสัญญาณ VGA หรือ สายสัญญาณ HDMI ไปที่ เครื่องโปรเจคเตอร์
- ทำการติดตั้ง โปรแกรม สำหรับ กระดาน
การทำงานของกระดานอัจฉริยะ
เมื่อทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เราก็จะสามารถใช้งานกระดานได้ โดยก่อนเริ่มทำงาน เราจะต้องทำการ Caribrate ตัวกระดาน หรือ ทำการตั้งค่าความแม่นยำในการสัมผัสของกระดาน (Calibration of Inter Active White Board)
หลังจาก ตั้งค่าความแม่นยำในการสัมผัสของกระดานแล้ว เราสามารถก็จะสามารถควบคุมหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ โดยใช้ปากกา นิ้วมือ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ สัมผัสไปที่กระดานอัจฉริยะได้โดยตรง ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน คือไม่ต้องเดินไปที่คอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะเลื่อนเมาส์ เพื่อคลิก หรือพิมพ์ โดยมีโปรแกรมของกระดานทำหน้าที่ในการนำเสนอ ซึ่งในส่วนโปรแกรมของกระดาน นั้นสามารถแบ่งการทำงานออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 โปรแกรมในส่วนของระบบปฏิบัติการ (Operating System) ชนิดต่าง ๆ ในที่นี้ จะขอยกตัวอย่างเป็น ระบบปฏิบัติการวินโดส์ Window Operating System ซึ่งในการทำงานของกระดาน จะสามารถสัมผัสไปที่ตัวกระดานได้เลยโดยใช้ นิ้วมือ หรือ อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ วิธีการใช้งานก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละยี่ห้อ
ส่วนที่ 2 คือ ในส่วนของหน้าจอไวท์บอร์ด ซึ่งในส่วนนี้จะเปรียบเหมือนกระดานดำ หรือกระดานไวท์บอร์ด นั่นเองต่างกันตรงที่ กระดานดำ หรือ กระดานไวท์บอร์ดนั่น จะต้องใช้ชอร์ค หรือปากกาเมจิกในการเขียน และไม่สามารถที่จะบันทึกสิ่งที่เขียนเอาไว้ในรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์ได้ ตรงจุดนี้เองซึ่งเป็นข้อดีของกระดานอัฉริยะ เพราะว่าสามารถที่จะใช้นิ้ว หรือ ปากกา ในการเขียนได้ แล้วยังสามารถที่จะบันทึกสิ่งที่เราเขียนลงไปเก็บไว้ที่คอมพิวเตอร์ได้เลย นอกจากนั้นกระดานบางยี่ห้อยังสามารถที่จะแปลงตัวเขียนให้เป็นตัวพิมพ์ได้ทันที และยังสามารถที่จะบันทึกเสียงได้อีกด้วย พร้อมทั้งยังมีฟังก์ชั่นเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอน หรือ การประชุม โดยรุ่นใหม่ ๆ นั้นสามารถที่จะเขียนให้แสดงข้อความ หรือตอบโต้กันผ่านทาง ระบบเครื่อข่าย และสามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์ หรือแท็บเล็ตได้อีกด้วย
การใช้งานกระดานอัจฉริยะ
ในสภาวะปัจจุบันที่ต้องมีการประชุม การเรียนผ่านระบบ Conference มากขึ้น ทำให้การใช้งานกระดานอัจฉริยะ มีบทบาทมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการ Conference ผ่าน กระดานอัจฉริยะ การแชร์สกรีน การเขียนหน้าจอ รวมถึงการบันทึกหน้าจอที่มีการจดบันทึกเอาไว้ อีกทั้งยังสามารถนำไฟล์ต่างๆ เข้าและออก ในตัว กระดานอัจฉริยะ ได้อีกด้วย โดยในปัจจุบันตัว กระดานอัจฉริยะ นั้นยังมีความสามารถในการเชื่อมต่อแบบไร้สาย หรือที่เรียกว่า Wireless Screen Mirroring โดยสามารถเชื่อมต่อใช้งานได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็น
Windows ที่สามารถใช้ตัว Dock เชื่อมต่อเข้ากับ port USB โดยที่ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Software อะไรลงไป แล้วสามารถนำภาพจากหน้าจอ Computer ขึ้นแสดงผลที่ตัวกระดานอัจฉริยะได้เลย อีกทั้งยังสามารถสัมผัสที่หน้าจอกระดานอัจฉริยะ แล้วควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แสดงผลอยู่ได้อีกด้วย
Android นอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ตัวสมาร์ทโฟน Android เอง ก็สามารถที่จะเชื่อมต่อ และนำภาพจากหน้าจอของมือถือ Android ขึ้นแสดงผลบนจอของตัวกระดานอัจฉริยะได้ด้วยเช่นกัน
Apple Devices นอกจาก Windows, Android แล้ว Product ของ Apple เองก็สามารถนำขึ้นแสดงภาพบนตัวกระดานอัจฉริยะได้เช่นกัน โดยวิธีการนำภาพขึ้นแสดงผลนั้น จะต้องให้อุปกรณ์เชื่อมต่อWifiของตัวกระดานอัจฉริยะ แล้วจึงสามารถที่จะ Airplay (การแชร์ภาพของ Apple) ขึ้นไปแสดงผลได้
ประเภทของเทคโนโลยีกระดานอัจฉริยะ
- เทคโนโลยี กระดานอัจฉริยะ แบบอิเล็กโตรแม๊กนิติก (Electromagnetic Interactive White Board) เป็นเทคโนโลยี ที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการทำงาน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นสามารถที่จะเดินทางผ่านอากาศหรือว่าฉนวนต่างๆได้ โดยหลักการทำงานของมัน คือส่งผ่านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาหาตัวรับ ซึ่งตัวรับจะเรียกว่า Coil Coating และเมื่อนำปากกาเข้าไปใกล้ Coil Coating เจ้าตัวขดลวดนี้จะทำการรับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากปากกา แล้วนำไปทำการคำนวนจุดส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์
ข้อดี
– ให้การสัมผัสมีความแม่นยำ
– ตอบสนองได้รวดเร็ว
– เหมาะสำหรับคนที่เขียนกระดาน แล้วมือต้องติดกับตัวกระดาน
ข้อด้อย
– ต้องใช้ปากกาเฉพาะในการสัมผัส หรือเขียนกับกระดานเท่านั้น ไม่สามารถใช้วัสดุอื่น ในการสัมผัส หรือเขียนแทนปากกาเฉพาะได้ ถ้าหายต้องซื้อใหม่อย่างเดียว
– ปากกาเฉพาะมีอายุการใช้งาน ถ้าใช้งานนานๆ ต้องมีการเปลี่ยนปากกา
– ต้องมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงโดยตรงกับตัวกระดาน - เทคโนโลยี กระดานอัจฉริยะ แบบอินฟราเรด (Infrared Interactive White Board) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ คลื่นอินฟราเรด ในการรับจุดตัด โดยจะมีตัวส่งคลื่นอินฟราเรด และตัวรับคลื่นอินฟราเรด ทั้ง 4 ด้าน ของตัวกระดาน กระดานมีการส่งสัญญาณในแนวตั้ง และแนวนอนตัดกันเป็นจุด เมื่อมีวัตถุเข้าไปสัมผัสผ่านคลื่นอินฟราเรดจะทำให้เกิดจุดอับสัญญาณ ขึ้น ทำให้คอมพิวเตอร์รู้ว่าจุดที่คุณสัมผัสคือจุดไหน
ข้อดี
– มีความเที่ยงตรง และแม่นยำสูง
– มีการตอบสนองที่รวดเร็ว
– ไม่จำเป็นต้องใช้ปากกาเฉพาะในการสัมผัส หรือเขียน เพราะสามารถที่จะใช้นิ้วมือ หรือ สิ่งต่างๆในการสัมผัส หรือเขียนที่กระดานได้
– ตัวกระดานสามารถรับแรงกระแทกได้ในระดับดี หรือกระดานทะลุก็สามารถเขียน หรือใช้งานต่อได้
– ดูแลรักษาง่าย
– ไม่จำเป็นต้องต่อสายไฟโดยตรงกับตัวกระดาน เพราะตัวกระดานจะใช้เพียงแค่สาย USB ในการเชื่อมต่อ
ข้อด้อย
– เขียนด้วยปากกาไม่ค่อยสะดวก เพราะเวลาเขียนต้องยกมือไม่ให้ติดกับตัวกระดาน เนื่องจากว่าระบบอินฟราเรด จะอ่านค่าเป็นอย่างอื่นไป - เทคโนโลยี กระดานอัจฉริยะ แบบดีวีทีที (DVTT Interactive White Board) เทคโนโลยีแบบ ดีวีทีที นั้นจะประกอบไปด้วยที่ส่งสัญญาณอินฟราเรด อุปกรณ์แปลงสัญญาณแสงให้เป็นสัญญาณอนาล็อค และตัวสัญญาณอนาล็อคก็จะแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลอีกที ในที่นี้เรียกว่า (CCD = Charge Couple Device Memory) ซึ่งส่วนใหญ่ จะติดตั้งอยู่ด้านบนของตัวกระดาน และจะมีฟิล์มติดอยู่ที่ขอบของกระดานทั้ง 3 ด้าน ซึ่งการทำงานของ เทคโนโลยีแบบ ดีวีทีที นั้นจะส่งค่าของคลื่นอินฟราเรดไปที่ขอบของกระดาน และถ้าไม่มีสิ่งใดมาขวางคลื่นอินฟราเรด ตัว CCD นั้นก็ได้รับสัญญาณสัญญาณที่ปกติ แต่ถ้ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาขวางคลื่นอินฟราเรด ตัว CCD ที่อยู่ทั้ง 2 มุมของกระดานนั้นก็จะเริ่มทำงาน และส่งสัญญาณไปที่ตัวคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวน และค้นหาตำแหน่งของจุดอับของสัญญาณนั้นต่อไป
ข้อดี
– กำหนดจุดได้แม่นยำ และเที่ยงตรง
– ตอบสนองได้เร็ว
– สามารถสัมผัสกระดานได้มากกว่า 1 จุด และสามารถสัมผัสได้พร้อมกันหลายๆ ตำแหน่ง
– ไม่จำเป็นต้องใช้ปากกาเฉพาะ สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์อะไรก็ได้ในการสัมผัส
– ตัวกระดานทนทานต่อแรงกระแทก
ข้อด้อย
– มีราคาที่สูง
ข้อดีของการใช้กระดานอัจฉริยะ
- ด้านการเขียนและการจดบันทึก : กระดานอัจฉริยะ ทำให้ผู้สอนสามารถเขียนบนจอภาพได้ด้วยปลายนิ้ว หรือปากกาปลายทึบ และมีซอฟแวร์ไวท์บอร์ด ที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถเขียนได้ครั้งละหลายหน้า สามารถเลือกลด-เพิ่ม หรือ แทรกหน้าที่ต้องการได้ง่าย โดยไม่ต้องเขียนไปลบไปเหมือนกระดานดำ รวมทั้งสามารถย้อนดูได้ตลอดเวลา
- ด้านการนำเสนอภาพ วีดีโอ และสื่อการสอนจากอินเตอร์เน็ต : กระดานอัจฉริยะ สามารถแทรกภาพ วีดีโอ และสื่อการสอนจากอินเตอร์เน็ต ไปพร้อมกับการเขียนบนจอภาพได้ทันที โดยไม่ต้องไปเปิด โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เพิ่มเติม
- ด้านจอภาพแสดงผล : กระดานอัจฉริยะมีกระจกจอที่เคลือบด้วยวัสดุพิเศษ ลดเงาสะท้อน ทำให้ผู้เรียน สามารถอ่านข้อมูลที่อยู่บนจอได้ชัดเจน และมีมุมมองกว้างต่างจากจอโทรทัศน์ทั่วไป ที่มีแสงสะท้อนจากตัวจอ ทำให้ข้อมูลบนจอไม่ชัดเจน และมีมุมมองภาพแคบกว่า รวมทั้งกระจกจอของกระดานอัจฉริยะ เป็นกระจกหนาแบบนิรภัย แตกยาก และหากแตก ก็จะเป็นเม็ดเล็กๆ ไม่สร้างแผลให้กับผู้ใช้งานได้ง่ายเหมือนกระจกจอโทรทัศน์ทั่วไป
- ด้านซอฟท์แวร์ : กระดานอัจฉริยะมีซอฟท์แวร์ช่วยในการเขียน เช่น มีฟังก์ชั่นแปลงลายนิ้วมือ มีโหวตคะแนน เกมส์ สื่อการสอนแบบเคลื่อนไหว สร้างความสนใจให้กับผู้เรียน และสามารถบันทึกการเรียนการสอนเก็บไว้ หรือแชร์ ผ่าน QR code ไปยังโทรศัพท์ หรืออีเมล์ ของผู้เรียนได้ง่ายดาย
- ด้านการเรียนการสอน : กระดานอัจฉริยะรองรับการเรียนการสอนทั้งแบบออนไลน์ และออนไซต์ ผู้เรียนในห้องสามารถเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ผ่านระบบออนไลน์ของกระดานอัจฉริยะได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม หรือ Web Browser เรียนไปพร้อมๆกัน บันทึกไฟล์ได้ง่าย และแชร์ ส่งต่อได้เพียง 1-2 คลิก
- ด้านการสื่อสาร และการเชื่อมต่อ : ด้วยระบบสัมผัสของกระดานอัจฉริยะ จะสามารถช่วยให้การประชุมในองค์กร การเรียนการสอนของภาคการศึกษา ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ครูและนักเรียน สามารถแบ่งปันความคิดเห็นหรือทำเครื่องหมายบันทึกบนไว้บนหน้าจอได้ทันทีแบบ Real Time และยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หรือระบบอื่นๆ แบบไร้ขีดจำกัด อาทิเช่นการเชื่อมต่อไร้สาย (Wireless) เชื่อมต่อกับพีซีหรือแล็ปท็อปได้อย่างง่ายดาย การเชื่อมต่อแบบ Mirror หรือ Miracast เพื่อให้สามารถแชร์เอกสารงานนำเสนอและไฟล์อื่น ๆ ที่เก็บไว้ในอุปกรณ์มือถือออกมานำเสนออย่างสะดวกรวดเร็ว
- ด้านการประหยัดพลังงาน : กระดานอัจฉริยะ ประกอบด้วยแผงไฟ LED ประหยัดพลังงานและมีโครงเครื่องโลหะที่แข็งแรง ทำให้สามารถประหยัดพลังงานมากกว่าการแสดงผลรูปในรูปแบบเดิมๆ อาทิ เช่น Projector อีกทั้งตัวกระดานอัจฉริยะได้ถูกออกแบบสำหรับการใช้งานเพื่อป้องกันรอยขีดข่วน มีความทนทานและแขวนบนฝาผนังหรือบนขาแขวนล้อเลื่อนได้ ทำให้มีความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน จบครบในตัวเครื่องเดียว
- ด้านการพัฒนาต่อยอด : ด้วยเทคโนโลยีของกระดานอัจฉริยะ สามารถต่อยอดไปสู่ระบบห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ Smart Classroom นำข้อมูลความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยอาจารย์ผู้สอน และสามารถปรับปรุงเนื้อหาในการทำสื่อการเรียนการสอนได้อย่างง่ายดาย และยังรองรับระบบการเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) ผ่านระบบ Video Conference ซึ่งทำให้ครูและนักเรียนสามารถดำเนินการเรียนการสอนจากที่ไหนก็ได้
ปัญหาในการใช้งานกระดานอัจฉริยะ
- ด้านการตอบสนอง : ปัญหาที่ตัวกระดานอัจฉริยะเอง นั่นคือการตอบสนองต่อการเขียนที่ช้า ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกไม่อยากเขียน จนทำให้ระบบนี้ไม่มีคนใช้และเสียไปโดยเปล่าประโยชน์
- ด้านตัวผู้ใช้งาน : ปัญหาส่วนหนึ่งก็มาจากตัวผู้ใช้งานเอง ซึ่งตัวกระดานอัจฉริยะถือเป็นระบบที่ มีความอัจฉริยะมาก อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ต่ผู้ใช้งานเสมอไป เพราะฟังก์ชั่นที่มากทำให้ต้องใช้เวลาในเรียนรู้นาน และใช้งานได้ยุ่งยาก ทำให้ผู้ใช้งานที่อาจไม่ได้อยู่ในวงการเทคโนโลยีอาจจะเข้าใจได้ยาก จนไม่สามารถใช้งานได้
- ด้านราคา : ตัวกระดานอัจฉริยะนั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้คนในบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้
กระดานอัจฉริยะต่างจาก Smart TV อย่างไร
- ด้านจอภาพ และการใช้งาน
สมาร์ททีวี : เป็นอุปกรณ์ Panel ภายในออกแบบมาให้ใช้งานตามบ้าน ใช้งานแบบ 8 ชั่วโมงต่อวัน
กระดานอัจฉริยะ : เป็นจอแบบ Commercial Grade ใช้งานได้ 16 ชั่วโมงติดกัน 7 วัน มีความสว่างจอที่มากกว่าสมาร์ททีวี รวมทั้งมีฟังก์ชั่น หรีแสงอัตโนมัติ ในบางรุ่น
- ด้านออปชั่นเสริม
สมาร์ททีวี : มีแอนดรอยด์ภายในตัว สามารถใช้งานได้คล้ายกับตัวโทรศัพท์แอนเรอยด์ แต่เพิ่ม Windows ไม่ได้
กระดานอัจฉริยะ : มีออปชั่นในการเพิ่ม คอมพิวเตอร์ Slot OPS สำหรับใช้งานฝั่งWindows และมีโปรแกรม สำหรับขีดเขียนข้อความบนจอ มีฟังก์ชั่นกระดานไวท์บอร์ด และในบางยีห้อมีฟังก์ชั่น แทรกภาพ แทรกรูป ทางการศึกษา เช่น ตารางธาตุ กราฟ สูตรเคมี เป็นต้น
- ด้านความทนทาน
สมาร์ททีวี : มีกระจกหน้าจอแบบธรรมดา ไม่ทนต่อการขีดและกระแทก
กระดานอัจฉริยะ : มีกระจกหน้าจอนิรภัย(แตกแล้วไม่บาดมือ) ค่า 7H ทนต่อการกระแทก ขูดขีดจากโลหะ จึงมั่นใจได้ว่าจอรับแรงกดจากการเขียนได้ดี
- ด้านราคา
สมาร์ททีวี : มีราคาทีประหยัด เหมาะสำหรับการแสดงภาพ
กระดานอัจฉริยะ : มีราคาที่สูง แต่เพิ่มฟังชั่นในการเขียน-ลบได้ และสามารถแชร์ได้
จากบทความข้างต้นเราทำให้เราเห็นได้ว่า ทำไมในปัจจุบันกระดานอัจฉริยะถึงเป็นเทคโนโลยีส่งเสริมการเรียนการสอนที่ถูกใช้ในหลายๆ โรงเรียน แทนกระดานไวท์บอร์ด หรือ กระดานดำแบบเดิม เพราะโรงเรียนต่างต้องการหาแนวทาง ในการนำเสนอข้อมูลให้แก่นักเรียนผ่านหน้าจอเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมเกี่ยวกับการศึกษา เว็ปไซต์ และอื่นๆ นอกจากนี้กระดานอัจฉริยะยังทำให้ครูสามารถบันทึกการสอนได้และใส่ข้อมูลไว้ เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปใช้ ศึกษาได้ในภายหลัง
และถ้าหากคุณมีความสนใจใน Interactive White Board กำลังหากระดานอัจฉริยะที่มีคุณภาพ หรือที่มีตัวหลากหลายให้คุณได้เลือกใช้ตามที่คุณต้องการ คุณสามารถติดต่อสอบถาม หรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
บริษัท ซัคเซส เน็ตเวิรค แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
โทร : 02-973-1966
Admin : 063-239-3569
Email : info@success-network.co.th