Power supply คือ
แหล่งจ่ายไฟ หรือที่มักจะเรียกทับศัพท์ว่า เพาว์เวอร์ซัพพลาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ไฟฟ้ากระแสสลับจากแหล่งกำเนิดให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงด้วยความต่างศักย์ที่เหมาะสมก่อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยมีสายเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ภายในเครื่อง ซึ่งในการแปลงสัญญาณไฟฟ้าดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดความร้อนขึ้นด้วย ดังนั้นภายในแหล่งจ่ายไฟจึงต้องมีพัดลมเพื่อช่วยในการระบายความร้อนออกจากตัวเครื่องซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะการที่เครื่องมีความร้อนที่สูงมาก ๆ นั้น อาจจะเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ประกอบภายในเครื่องได้ง่าย ปกติแล้วมักจะไม่ค่อยมีการเลือกซื้อพาว์เวอร์ซัพพลายกันนักถ้าไม่ใช่เนื่องจากตัวเก่าที่ใช้อยู่เกิดเสียไปโดยมากเราจะเลือกซื้อ มาพร้อมกับเคส
ประเภทของ Power Supply (พาวเวอร์ซัพพลาย)
การจำแนกประเภทพาวเวอร์ซัพพลายคอมพิวเตอร์สามารถทำได้โดยใช้เกณฑ์หลายแบบ
-
หากจำแนกจากแหล่งจ่ายไฟ
จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ AT และ ATX
1. AT เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้กันในประมาณ พ.ศ. 2539 โดยปุ่มเปิด – ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆ จะมีสวิตซ์ปิดเปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย)
2. ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาจาก AT โดยเปลี่ยนปุ่มปิด – เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่อง ทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง โดยมีรุ่นต่างๆ ดังนี้
-
-
- ATX 2.01 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปที่ใช้ตัวถังแบบ ATX สามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ ATX และ Micro ATX
- ATX 2.03 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ Server หรือ Workstation ที่ใช้ตัวถังแบบ ATX (สังเกตว่าจะมีสายไฟเพิ่มอีกหนึ่งเส้น ที่เรียกว่า AUX connector)
- ATX 2.01 แบบ PS/3 ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวถังแบบ Micro ATX และเมนบอร์ดแบบ Micro ATX เท่านั้น
-
-
หากแบ่งตามลักษณะการใช้งาน
สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ AC Power Supply และ DC Power Supply
1. DC Power Supply (Direct Current Power Supply) แหล่งจ่ายไฟตรง ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating current) จากไฟบ้าน 220V ให้เหลือแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current) ตามความต้องการในการใช้งาน เช่น 3.3V 5V หรือ 12V เป็นต้นประเภทของ DC Power Supply
- Switching power supply สามารถปรับค่าแรงดันโดยการปรับที่หม้อแปลงด้าน primary ข้อดีของพาวเวอร์ซัพพลายชนิดนี้คือมีน้ำหนักเบาเพราะแกนของหม้อแปลงมีขนาดเล็ก สามารถใช้ได้กับระบบไฟฟ้าทุกแบบ
- Linear regulated สามารถจ่ายค่าแรงดันตามที่กำหนดได้และมีการลดค่าแรงดันอินพุตที่เกินออกพาวเวอร์ซัพพลายชนิดนี้ไม่สามารถรักษาระดับแรงดันได้ ทำได้แค่ลดค่าแรงดันที่เกินมาเท่านั้น มีความร้อนระบายออกมาค่อนข้างเยอะ จึงไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ มีขนาดใหญ่ หนักและราคาแพง
- Unregulated power supply จ่ายค่าแรงดันไม่คงที่และมีสัญญาณรบกวนในขณะที่จ่ายไฟกระแสตรง ถ้าค่าแรงดันอินพุตที่เข้ามาไม่คงที่ ค่าแรงดันเอาท์พุตที่จ่ายออกไปจะไม่คงที่เช่นกัน แต่พาวเวอร์ซัพพลายชนิดนี้ก็ยังมีข้อดีคือ ราคาถูกและใช้งานง่าย
- Ripple regulated power supply มีทรานซิสเตอร์ทำงานในโหมด on/off ทำหน้าที่ส่งผ่านกำลังไฟตรงไปยังตัวเก็บประจุขนาดใหญ่เพื่อรักษาระดับแรงดันเอาต์พุตให้อยู่ในช่วงที่กำหนด มีความร้อนระบายออกมาเล็กน้อย ทำให้ปลอดภัยในการใช้งาน
2. AC Power Supply (Alternating Current Power Supply) แหล่งจ่ายไฟสลับ ทำหน้าที่จ่ายไฟสลับและปรับเปลี่ยนค่าความถี่ (frequency output) ให้คงที่และตรงตามความต้องการในการใช้งาน
- แบบเอาท์พุทเฟสเดียว (Single-phase output AC Frequency Conversion Power Supply)
- แบบเอาท์พุท 3 เฟส (Three-phase output AC Frequency Conversion Power Supply)
- แบบเอาท์พุทเลือก 1 หรือ 3 เฟสได้ (Multi-mode 1 or 3 phase output AC Frequency Conversion Power Supply)
หลักการทำงานของพาวเวอร์ซัพพลาย
โดยหน้าที่หลักของอุปกรณ์ชิ้นนี้ คือการจ่ายไฟฟ้าซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญ ไปยังชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในคอมพิวเตอร์ โดยจะแปลงกระแสไฟบ้านที่เป็นกระแสสลับ (AC) ขนาด 220 V เป็นกระแสตรง (DC) สำหรับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ 3V, 5V หรือ 12V ตามแต่ละชิ้นส่วน
พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240 โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์ อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ 220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ ระบบนี้เรียกว่า (Switching power supply ) และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ โดยจะฝ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ โดยความสามารถพิเศษของ Switching power supply ก็คือ มีชุด Switching ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัว หนึ่งชำรุดเสียหาย หรือช็อตนั่นเอง
มาตรฐาน 80 Plus ใน Power Supply คืออะไร?
มาตรฐาน 80 Plus คือ มาตรฐานของ Power Supply ที่ใช้เรียกประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency) เป็นมาตรฐานของอเมริกา กำหนดจากหน่วยงาน ชื่อว่า U.S. Energy Information Administration (EIA) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงพลังงาน (DOE) ของอเมริกา
โดยเป็นการยืนยันว่า อุปกรณ์นี้สามารถรุ่นนี้สามารถแปลงพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นการแปลงการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้กลายเป็นกระแสตรง เพื่อส่งพลังงานไฟฟ้าไปให้อุปกรณ์อื่นๆ ภายในคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน 80 Plus จะมีความสามารถในการแปลงกระแสไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของกระแสไฟฟ้าที่รับมา และยังช่วยในการประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย เนื่องจากมีอัตราสูญเปล่าที่ลดลง โดยเรามักจะพบมาตรฐาน 80 Plus ได้ตามพาวเวอร์ ซัพพลายจากแบรนด์ชั้นนำ โดยมาตรฐานดังกล่าว สามารถแบ่งออกได้หลากหลายระดับด้วยกัน ยิ่งถ้ามีระดับสูงก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพดีขึ้น ประหยัดไฟได้มากขึ้น แต่ราคาก็จะสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
โดยแบ่งระดับมาตรฐานดังกล่าวเป็น 6 ระดับดังนี้
- 80 Plus
มาตรฐาน 80 Plus อยู่ระดับสีขาว เป็น Power Supply ราคาถูกที่สุด จะต้องผ่านการทดสอบไฟฟ้า 115V Internal Nonredundant และ 230V EU Internal Nonredundant โดยการทดสอบ 115V Internal Nonredundant นั้น ไม่ว่าจะโหลดที่ 20% 50% หรือ 100% จะต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 80% จึงผ่านระดับนี้ได้
- 80 Plus Bronze
มาตรฐาน 80 Plus Bronze เป็น Power Supply ระดับสีทองแดง ซึ่งผ่านการทดลองไฟฟ้าทั้ง 115V Internal Nonredundant, 230V Internal Redundant และ 230V EU Internal Nonredundant
โดยการทดสอบ 230V Internal Redundant ต้องมีผลดังนี้
- โหลดที่ 20% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 81%
- โหลดที่ 50% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 85%
- โหลดที่ 100% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 81%
- 80 Plus Silver
มาตรฐาน 80 Plus Silver เป็น Power Supply ระดับสีเงิน ต้องผ่านการทดลองไฟฟ้าทั้ง 3 รูปแบบ
โดยการทดสอบ 230V Internal Redundant ต้องมีผลดังนี้
- โหลดที่ 20% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 85%
- โหลดที่ 50% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 89%
- โหลดที่ 100% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 85%
- 80 Plus Gold
มาตรฐาน 80 Plus Gold เป็น Power Supply ระดับสีทอง จะผ่านการทดลองไฟฟ้าทั้ง 3 รูปแบบ
โดยการทดสอบ 230V Internal Redundant ต้องมีผลดังนี้
- โหลดที่ 20% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 88%
- โหลดที่ 50% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 92%
- โหลดที่ 100% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 88%
- 80 Plus Platinum
มาตรฐาน 80 Plus Platinum เป็น Power Supply ระดับสีแพลตทินั่ม ต้องผ่านการทดลองไฟฟ้าทั้ง 3 รูปแบบ โดยการทดสอบ 230V Internal Redundant ต้องมีผลดังนี้
- โหลดที่ 20% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 90%
- โหลดที่ 50% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 94%
- โหลดที่ 100% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 91%
- 80 Plus Titanium
มาตรฐาน 80 Plus Titanium เป็น Power Supply ระดับไทเทเนี่ยม นับว่าเป็นตัวท็อปเลยทีเดียว ทำให้มีราคาสูงและผ่านการทดลองไฟฟ้าทั้ง 3 รูปแบบ โดยการทดสอบ 230V Internal Redundant ต้องมีผล 4 ส่วน ดังนี้
- โหลดที่ 10% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 90%
- โหลดที่ 20% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 94%
- โหลดที่ 50% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 96%
- โหลดที่ 100% ต้องได้กระแสไฟฟ้าเกิน 91%
ข้อควรรู้ในการเลือกซื้อ Power Supply
- แบรนด์ผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ
ในการเลือกพาวเวอร์ซัพพลาย ปัจจัยแรกที่ควรนำมาพิจารณาคือความน่าเชื่อถือของแบรนด์ผู้ผลิต เนื่องจากการซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์จากแบรนด์ที่มีชื่อเสียง นับเป็นการการันตีคุณภาพให้แล้วในระดับหนึ่ง อีกทั้งส่วนใหญ่ยังมีบริการหลังการขายด้วย ทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้น เป็นอุปกรณ์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
โดยแบรนด์พาวเวอร์ซัพพลายที่มีความน่าเชื่อถือและได้รับความนิยม มีด้วยกันหลายแบรนด์ เช่น ANTEC, ASUS, COOLER MASTER, CORSAIR, EVGA, GIGABYTE, LIAN-LI, MONTECH, MSI, NZXT, SILVERSTONE, SUPER FLOWER, THERMALTAKE และ ZALMAN - ประเภทของพาวเวอร์ซัพพลาย
นอกจากการพิจารณาเบื้องต้นจากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือแล้ว การตัดสินใจซื้อพาวเวอร์ซัพพลายจากประเภทที่เหมาะกับการใช้งาน ก็เป็นอีกหนึ่งข้อสำคัญที่ช่วยให้การซื้อครั้งนั้น ๆ เกิดความคุ้มค่าและนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
หากมีอุปกรณ์เสริมแบบครบเซ็ตควรเลือก FULL-Modular เพื่อให้รองรับการเชื่อมสายเคเบิลได้ ถ้าไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมใดก็เลือกเป็นแบบ NON-Modular หรือหากที่มีงบประมาณจำกัด ก็เลือกแบบ AT ได้ด้วย แต่ถ้าต้องการลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายบางส่วนกับอุปกรณ์ ก็เลือกแบบ ATX ที่ออกแบบโดยพัฒนาจาก AT ให้ต่อไปยังเมนบอร์ด เพื่อช่วยให้กระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนปิดเครื่อง - ขนาดความจุ
ในการเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายคอมพิวเตอร์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงขนาดความจุของกำลังไฟ ต้องเลือกให้มีกำลังไฟที่เพียงพอสำหรับการจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ทั้งหมด โดยทั่วไปแล้วควรเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายที่มีกำลังไฟไม่ต่ำกว่า 400 วัตต์ เพื่อให้สามารถแปลงกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณมีการอัปเกรด หรือมีอุปกรณ์เสริมที่เพิ่มฟังก์ชันการใช้งานเป็นพิเศษ พาวเวอร์ซัพพลายที่กำลังไฟเพียง 400 วัตต์ก็อาจไม่เพียงพอกับอุปกรณ์เสริมเหล่านั้น ดังนั้นก่อนเลือกซื้อ จึงต้องคำนวณปริมาณอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมด้วย และอาจเผื่อการอัปเกรดในอนาคตด้วย เพื่อให้ประเมินขนาดกำลังไฟขั้นต่ำที่เพียงพอกับการใช้งาน - การระบายความร้อน
เนื่องจากพาวเวอร์ซัพพลายเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟ เพื่อส่งไปยังชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้พลังงานเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดความร้อนภายในขึ้นด้วย จึงจำเป็นต้องมีพัดลมระบายอากาศ เพื่อช่วยระบายความร้อน และลดอุณหภูมิด้านในเครื่อง เพราะหากอุณหภูมิภายในสูงเกินไป อาจส่งผลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เสียหายได้
ดังนั้นความสามารถในการระบายความร้อน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา ก่อนเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลาย เพื่อลดความเสี่ยงในการเสียหายของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชิ้นอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง โดยควรเลือกรุ่นที่ออกแบบมาให้ระบายความร้อนได้ดี เช่น ติดตั้งพัดลมระบายอากาศ 2-3 เครื่อง หรือการใช้พัดลมขนาดใหญ่ก็ช่วยได้เช่นกัน
และถ้าหากคุณกำลังมองหา Power Supply คุณภาพดี และตอบโจทย์การใช้งานของคุณ คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรายละเอียดอุปกรณ์เพิ่มเติม หรือขอคำปรึกษาฟรีๆ ได้ที่
Success Network and Communication
Tel : 02-973-1966
Admin : 063-239-3569
E-mail : info@success-network.co.th